วิธีขอน้ำประปา ขอมิเตอร์น้ำประปา เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ที่ซื้อบ้าน หรือสร้างบ้านเสร็จจำเป็นต้องรู้ ไม่แพ้การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า โดยการขอน้ำประปา สามารถขอติดตั้งประปาได้ทั้งจากการประปานครหลวง สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี และการประปาส่วนภูมิภาค สำหรับผู้ที่อยู่จังหวัดอื่น ลองมาดูว่าการขอน้ำประปา ขอมิเตอร์น้ำประปามีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างได้ที่นี่
วิธีขอน้ำประปา มีกี่ประเภท
การน้ำประปา หรือการขอติดตั้งประปามีด้วยการ 3 ประเภท ดังนี้
1. การติดตั้งประปาใหม่
สำหรับสถานที่หรืออาคารที่ไม่มีการติดตั้งประปามาก่อน
2. การติดตั้งถาวร
ใช้กับอาคารที่มีหมายเลขทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง โดยผู้ขอรับบริการต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
3. การติดตั้งชั่วคราว
ใช้กับสถานที่ที่มีหมายเลขทะเบียนบ้านชั่วคราวหรือขอใช้น้ำเพื่อการก่อสร้าง หรือขอใช้น้ำตามสภาพการใช้น้ำอื่น ๆ
การติดตั้งประปาซ้ำ สำหรับสถานที่หรืออาคารที่เคยมีการติดตั้งประปามาก่อนและได้มีการยกเลิกการใช้น้ำหรือถูกงดจ่ายน้ำไปแล้ว ผู้ขอติดตั้งประปาซ้ำต้องไม่ใช่คู่สัญญาใช้น้ำประปาเดิม
หลักฐานประกอบการขอน้ำประปา
กรณีบุคคลธรรมดา
1. สำเนาบัตรประชาชน / ข้าราชการ / พนักงานองค์กรของรัฐ
2. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองอาคาร (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
– ทะเบียนบ้าน (ที่ขอติดตั้งประปา)
– หนังสือสัญญาซื้อขายอาคาร
– หนังสือสัญญาเช่าซื้อ
– หนังสือสัญญาเช่าอาคาร
– ทะเบียนบ้านชั่วคราว
– หนังสืออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
– โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ
3. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (ติดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7.) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อได้ด้วยตนเอง)
กรณีนิติบุคคล
1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 3 เดือน) และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มีอำนาจลงนาม)
2. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองอาคาร (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
– ทะเบียนบ้าน (ที่ขอติดตั้งประปา)
– หนังสือสัญญาซื้อขายอาคาร
– หนังสือสัญญาเช่าซื้อ
– หนังสือสัญญาเช่าอาคาร
– ทะเบียนบ้านชั่วคราว
– หนังสืออนุญาตปลูกสร้างอาคาร
– โฉนดที่ดิน และหนังสือยินยอมจากเจ้าของ
3. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง (ติดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7.) และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อได้ด้วยตนเอง)
* เอกสารที่เป็นสำเนาต้องรับรองสำเนาถูกต้องของผู้มีอำนาจลงนาม
ขอน้ำประปา กี่บาท
อัตราค่าติดตั้งประปาใหม่ การประปานครหลวง
สำหรับมาตรวัดน้ำทุกขนาด ที่ใช้ท่อแยกเข้ามาตรวัดน้ำไม่เกิน 5 เมตร มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
ขนาดมาตรวัดน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง (นิ้ว) | ค่าใช้จ่าย ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (บาท) |
1/2 | 5,000 |
3/4 | 6,000 |
1 | 8,000 |
1/2 | 12,500 |
2 | 38,500 |
3 | 76,000 |
4 | 93,500 |
6 | 156,500 |
8 | 210,000 |
12 | 431,500 |
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอน้ำประปา
การประปานครหลวง โทร. 1125 หรือดูเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค โทร. 1662 หรือดูเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์การประปาส่วนภูมิภาค
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลทั่วไปเท่านั้น DDproperty by PropertyGuru ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับความเหมาะสม สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะใด ๆ ของข้อมูล ตามขอบเขตสูงสุดที่กฎหมายอนุญาต แม้ว่าเราได้พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ถูกต้อง เชื่อถือได้ และครบถ้วน ณ เวลาที่เขียน แต่ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเงิน, การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือทางกฎหมายทันที ผู้อ่านไม่ควรใช้ข้อมูลในบทความ แทนคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมซึ่งสามารถพิจารณาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ส่วนตัวของคุณได้ ทั้งนี้ เราไม่สามารถรับผิดชอบใด ๆ หากคุณเลือกที่จะนำข้อมูลไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
Rental Yield คืออะไร
Rental Yield คือ การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า สามารถทำได้ 3 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีการนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบซึ่งนำมาคำนวณหาผลตอบแทนการปล่อยเช่า ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้วิธีการซึ่งเหมาะสมที่สุดกับตนเองได้
วิธีคำนวณ Rental Yield
วิธีที่ 1 อัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าเบื้องต้น
วิธีนี้เป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าเบื้องต้นที่เรียกว่า Gross Rental Yield คือ วิธีที่สามารถคำนวณได้ง่าย เนื่องจากสูตรนี้เป็นการคำนวณโดยไม่มีการนำต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายเข้ามาร่วมคำนวณด้วย แต่จะใช้เพียงค่าเช่าที่คาดว่าจะได้รับตลอดทั้งปีและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาเท่านั้น โดยคำนวณได้ดังสูตรด้านล่างนี้
Gross Rental Yield = (ค่าเช่าที่คาดว่าจะได้รับตลอดปี ÷ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมา) x 100